บทความ:การติดตามและตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability)
การติดตามและตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) เรียบเรียงโดย อรพิน อุดมธนะธีระ ตำแหน่งนักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ สำนักโลจิสติกส์ ที่มาจาก Logistics Forum ปีที่ 5 ฉบับที่ 21 มีนาคม – เมษายน 2557 จากกระแสความใส่ใจในสุขอนามัยของผู้บริโภค ส่งผลต่อการออกกฎระเบียบต่างๆ มาควบคุมผลิตภัณฑ์อาหาร ไม่ว่าจะเป็น GMP, HACCP, BRC, ISO และอื่นๆ อีกหลายมาตรฐานและมาตรการ รวมถึงการติดตามและตรวจสอบย้อนกลับ หรือ Traceability ก็เป็นหนึ่งมาตรการที่กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วได้ออกกฎระเบียบนี้ขึ้นเพื่อกำหนดให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าในอุตสาหกรรมอาหาร แสดงถึงแหล่งที่มาและกระบวนการผลิตต่างๆ ให้กับผู้บริโภคได้สามารถเข้าถึงข้อมูล และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วในกรณีที่สินค้าอาหารนั้นๆ มีปัญหา วัตถุประสงค์ของการใช้ระบบติดตามและตรวจสอบย้อนกลับ คือ เพื่อป้องกันและบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากปัญหาเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารที่จำหน่าย และเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเรียกคืนสินค้าที่มีปัญหากลับอย่างถูกต้องและรวดเร็ว โดยอาศัยหลักการระบุที่มาและที่ไปของตัวสินค้า ซึ่งต้องสามารถตรวจสอบได้ทั้งการควบคุมคุณภาพ กระบวนการผลิต การบรรจุ การขนส่ง และการจำหน่าย หรือตั้งแต่เริ่มผลิตไปตลอดทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับสินค้า ผ่านระบบการจัดการฐานข้อมูล ทั้งระบบเอกสาร และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนอุปการณ์ต่างๆ เช่น เครื่องบันทึกและอ่าน …